หน้าเว็บ

โลก



โลก



ชื่อไทย
    โลก
ชื่ออังกฤษ 
     World , Earth
สัญลักษณ์ 
    สัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทนเส้นเมอริเดียนและเส้นศูนย์สูตรตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน
     
สมบัติของดาว                                                                      
    โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม  โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57 × 109) ปีก่อนและไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา
ขนาดของดาว
โลกมีเส้นรอบวงตามแนวนอน  40,075 กิโลเมตร และเส้นรอบวงตามแนวตั้ง  40,008 กิโลเมตร  มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดยใหญ่เป็นอันดับ 5 ของดาวเคราะห์ทั้งหมดในระบบสุริยะแต่เล็กกว่าดวงอาทิตย์ถึง 100 เท่า
สีของโลก                                       
    สีฟ้า
บริวาล
     ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โคจรรอบโลกทุกๆ 27 วัน 8 ชั่งโมง และขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองได้ครบหนึ่งรอบพอดีด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง                                                             
    ดวงจันทร์เป็นดวงดาวใหญ่ที่สุด  และสว่างที่สุดในท้องฟ้ากลางคืน  ดวงจันทร์ส่องแสง  แต่แสงที่ส่องนั้นมิได้เปล่งออกมาจากดวงจันทร์เอง  ดวงจันทร์เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ก็จะสะท้อนแสงนั้นออกมา  ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด  แต่ก็ยังเป็นระยะทางไกลมากคือ  ระยะสิบเท่าของเส้นรอบโลกยังสั้นกว่าระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์
เส้นผ่านศูนย์กลางของโลก
-โลกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 12,756 กิโลเมตร (รัศมี 6,378 กิโลเมตร
-ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกเราประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร
ลักษณะพื้นผิวของโลก


บนพื้นผิวโลกประกอบไปด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยมีพื้นน้ำเป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเลสาบ คลอง บึง แม่น้ำ ลำธารต่างๆ เฉพาะมหาสมุทรของโลกกินพื้นที่ประมาณสามในสี่ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรของโลกมี 4 มหาสมุทร ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) ส่วนที่เป็นแผ่นดินแบ่งออกเป็น 7 ทวีป คือ เอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) ส่วนที่เป็นแผ่นดินนี้จะมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันไป เช่น ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบในหุบเขา ที่ราบลุ่มน้ำ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เป็นต้น


ส่วนประกอบต่างๆ ของโลก


เปลือกโลก ( crust ) เป็นชั้นนอกสุดของโลกซึ่งมีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่และเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและน้ำ
นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
  •  ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล  (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
  • ชั้นที่สอง ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นหินไซอัลลงไปส่วนใหญ่จะเป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา  เหล็กออกไซต์และเม็กนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วพื้นโลก อยู่ในทะเลและมหาสมุทร 
แมนเทิล
แมนเทิล (mantle หรือ Earth’s mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 – 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์





แก่นโลก
ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของ โลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่
· แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 – 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 – 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
·   แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 – 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0

สภาพบรรยากาศ
สภาพอากาศของโลก คือ การถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่
1.      โทรโพสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 0-10 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยกาศมีไอน้ำ เมฆ หมอกซึ่งมีความหนาแน่นมาก และมีการแปรปรวนของอากาศอยู่ตลอดเวลา
2.      สตราโตสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 10-35 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยากาศชั้นนี้แถบจะไม่เปลื่ยนแปลงจากโทรโพสเฟียร์ยกเว้นมีผงฟุ่นเพิ่มมา เล็กน้อย
3.      เมโสสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่35-80 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีก๊าซโอโซนอยู่มากซึ่งจะช่วยสกัดแสงอัลตร้า ไวโอเรต (UV) จาก ดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลกมากเกินไป
4.      ไอโอโนสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 80-600 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจน จางมากไม่เหมาะกับมนุษย์
5.      เอกโซสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 600กิโลเมตรขึ้นไปจากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจนจางมากๆ และมีก๊าซฮีเลียมและไฮโดรเจนอยู่เป็นส่วนมาก โดยมีชั้นติดต่อกับอวกาศ
โลกมีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย

 บรรยากาศโลก
  • ก๊าซไนโตรเจน 77%
  • ออกซิเจน  21%
  • ก๊าซอาร์กอนรวมกับก๊าซอื่นๆ ฝุ่นละอองกับไอน้ำ 2%




ลักษณะทางกายภาพของโลก
โลกเกิดจากกลุ่มก๊าซร้อนที่รวมตัวกันและกลายเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4,500 ล้านปีมาแล้ว ในช่วงแรกๆ โลกเป็นของแข็งก้อนกลมอัดกันแน่นและร้อนจัด ต่อมาจึงเย็นตัวลง เมื่อโลกเย็นตัวลงใหม่ๆ นั้น ไม่ได้มีสภาพทั่วไปดังเช่นในปัจจุบันและไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย โลกใช้เวลาปรับสภาพอยู่ประมาณ 3,000 ล้านปี จึงเริ่มมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เกิดขึ้น และใช้เวลาวิวัฒนาการอีกประมาณ 1,000 ล้านปี จึงได้มีสภาพแวดล้อมทั่วไปคล้ายคลึงกับที่ปรากฏในปัจจุบัน
ในสมัยโบราณ มนุษย์เคยเชื่อกันว่า โลกมีสัณฐานแบนคล้ายจานข้าว นักเดินเรือในสมัยนั้นจึงไม่กล้าเดินทางไปในมหาสมุทรไกลๆ เพราะกลัวว่าจะตกขอบโลกออกไป ต่อมามีการเดินเรือรอบโลกโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน (Ferdinand Magellan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าโลกมีสัณฐานกลม และในปัจจุบันมีการส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกในระยะไกลและถ่ายภาพโลกไว้ จากภาพถ่ายเหล่านั้นก็ปรากฏชัดว่าโลกมีสัณฐานกลม  
ขนาดของโลกเมื่อวัดระยะทางในแนวเส้นศูนย์สูตรจะได้ความยาวประมาณ 12,756 กิโลเมตร และวัดในแนวขั้วโลกเหนือ-ใต้ยาวประมาณ 12,719 กิโลเมตร ทำให้โลกมีลักษณะกลมแป้นเหมือนผลส้มที่ตรงกลางป่องเล็กน้อยและขั้วโลกทั้งสองมีลักษณะแบน โลกมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาโดยหมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงและหมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 106,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 364 ¼ วัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น